1. อุดมการณ์ทางการเมือง :โดยอาจารย์ฟิลิปปินส์ พูดเร็วมาก มีกิจกรรมแบ่งกลุ่มเพื่อเตรียมนำเสนอเกี่ยวกับอุดมการณ์ที่จับฉลากได้ เราและเพื่อนจากติมอร์ตะวันออก ได้เสรีนิยม (Liberalism) เราต้องปั้นดินน้ำมันเป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยมเพื่อนำเสนอ จึงปั้น the Statue of Liberty ของอเมริกา เสรีนิยมเชื่อในอิสระของตนที่จะกำหนดชะตาชีวิตตัวเอง ความสำเร็จและความก้าวหน้าในชีวิตของบุคคลขึ้นอยู่กับความพยายามและความตั้งใจของบุคคล มากกว่าโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรทางสังคมและการสนับสนุนของรัฐ ในขณะที่เพื่อนชาวติมอร์ตะวันออกบอกว่า เค้ามีรูปปั้นที่เป็นตัวของ liberty เหมือนกัน แต่มันแสดงออกถึง liberty ในบริบทที่แตกต่างกัน คือ การได้รับอิสระภาพจากการเป็นประเทศอาณานิคมจากอินโดนีเซียในปี 2007
2. สวัสดิการโดยรัฐ : โดยนักวิชาการเยอรมัน เฮฮาดี เริ่มโดยการไล่ถามถึงสถานการณ์การเมืองของแต่ละประเทศ สถานการณ์ในพม่าเป็นอย่างไรกับการเมืองที่อยู่ภายใต้รัฐทหารมานาน? อินโดกำลังพัฒนาอย่างไรในฐานะที่มี GDP สูงแต่ประชากรก็สูงด้วย? ประชาธิปไตยที่เริ่มต้นอย่างในประเทศติมอร์เป็นอย่างไร? on and on
เมื่อมาถึงประเทศไทย เขาพูดถึงเรื่องรัฐประหาร บอกว่าเพื่อนชาวเยอรมันได้ย้ายออกจากประเทศไทยกันไปหลายคนแล้ว และยิ้มให้ จากที่ผ่านมา 2-3 วัน รู้สึกว่าเลคเชอร์เลอร์ที่มา ทั้งจากฟิลิปปินส์ อินโด เยอรมันไม่สนใจประเทศไทยกันสักเท่าไหร่เมื่อพวกเขาพูดถึงประชาธิปไตย
3. เศรษฐกิจการตลาด : คุ้นๆ เหมือนอาจจะเคยเรียนในวิทยาลัย แต่คงไม่ได้สนใจมาก เมื่อได้พูดคุยและรับฟังจากอ.จั๊ก ทีมอนาคตใหม่ ประกอบกับการใช้ชีวิตด้วยตัวเองแล้ว เราเริ่มรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น
ประเด็นที่ผู้นำเสนอชวนคิดและแลกปลี่ยน
a. ระหว่างตลาดเสรีนิยม (Liberal Market Economy) ระบบเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการทำงานของตลาดมากกว่าการแทรกแซงโดยรัฐ ที่ต้อนรับการลงทุนอย่างเป็นอิสระของเอกชน และผลตอบแทนไวในระยะสั้น และตลาดแบบ coordinated (Coordinated Market Economy) ที่เน้นการประสานงานของรัฐ คำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกฝ่ายในระยะยาว เอื้อต่อการสร้างสวัสดิการของรัฐอย่างไร?
b. การเติบโตของประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มากขึ้นจะต้องพึ่งพาสวัสดิการของรัฐอย่างไร? รัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยจะต้องคำนึงถึงความไม่เท่าเทียมของโอกาสเชิงโครงสร้าง เพื่อที่จะพยายามทำให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
c. สวัสดิการของรัฐในแต่ละประเทศเป็นอย่างไรกันบ้าง? ซึ่งประเทศต่างๆเห็นว่านโยบายการเข้าถึงระบบสาธารณะสุขของไทยค่อนข้างก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน
4. กระบวนการการเคลื่อนไหวทางสังคม, การสร้างพันธมิตร และสหภาพ : ผู้นำเสนอชาวอินโดจัดกระบวนการได้น่าสนใจมาก เชิญชวนให้ทุกคนได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ก้าวหน้า (progressive social movements) โดยไม่ให้คำตอบที่ absolute และชวนทุกคนให้มีส่วนร่วม ทำให้นึกถึงเทคนิคการสอนแบบ socratic
ประเด็นที่น่าสนใจ
d. การขับเคลื่อนทางสังคมที่ก้าวหน้ามักเกิดขึ้นจากคนกลุ่มเฉพาะ เช่น สหภาพแรงงาน กลุ่มชาติพันธ์ ผู้หญิง นักเรียน/นักศึกษา คนรุ่นใหม่ กลุ่มเหล่านี้ต้องการความก้าวหน้า และมีวาระที่ต้องการผลักดันที่แตกต่างกัน เนื่องจากผลพวงของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม (uneven development)
e. ในการเคลื่อนไหวร่วมของกลุ่มเฉพาะต่างๆที่ก้าวหน้า มันจะมีบางกลุ่มที่ dominate อยู่ดี อย่างไรก็ตาม ในระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย เราจะพาคนทุกกลุ่มไปด้วยกัน ด้วยการสนับสนุนให้คนทุกกลุ่มมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย โดยมีคนนิยามแนวคิดนี้ว่า social democracy is a political promise of inclusion.
*ล่าสุดผู้จัดงาน assign ให้ผู้เข้าร่วมตั้งชื่อรุ่น เราได้ชื่อว่า #never2young และพวกเราตกลงกันว่าจะทำแคมเปญที่เปิดให้ทุกคนใน asean plus 3 ได้มีส่วนร่วมที่จะเสนอว่า เรายังไม่แก่เกินไปที่จะ … (ทำอะไรได้บ้างในแต่ละประเทศ) โดยมีที่มาจากงานของ newground ที่นานานำเสนอ Nana Wipaphan Wongsawang